Google Search ทำงานอย่างไร
Google Search คือเครื่องมือค้นหาอัตโนมัติ โดยใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Web Crawler ในการสำรวจและค้นหาเว็บไซต์และเพิ่มไปยังดัชนี เพื่อที่จะนำมาจัดอันดับและแสดงผลใน Google Search โดยตัว Web Crawler จะเป็นระบบที่รวบรวมเว็บไซต์ แต่ก็จะมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการวบรวมแตกต่างกันไปในแต่ละเว็บไซต์
Google Search แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
การทํางานของ Google Search มี 3 ขั้นตอนต่อไปนี้ และหน้าเว็บบางหน้าอาจไม่ผ่านบางขั้นตอน
- การรวบรวมข้อมูล: Google ดาวน์โหลดข้อความ รูปภาพ และวิดีโอจากหน้าเว็บที่พบ จากนั้นทำการรวบรวมข้อมูล
- การจัดทําดัชนี: Google วิเคราะห์ข้อความ รูปภาพ และไฟล์วิดีโอในหน้าเว็บ แล้วจัดเก็บข้อมูลไว้ในดัชนีของ Google
- การแสดงผลการค้นหา: เมื่อผู้ใช้ค้นหาใน Google จะแสดงหน้าเว็บตามคำค้นหานั้นๆ
การรวบรวมข้อมูล
เป็นขั้นตอนแรกในการค้นหน้าเว็บ โดยจะเลือกเว็บไซต์ที่อัปเดตอย่างสมำ่เสมอ เมื่อเลือกแล้วจะเพิ่มลงในรายการหน้าเว็บที่รู้จัก กระบวนการนี้เรียกว่า ‘‘การค้นพบ URL’’ เมื่อรู้จักแล้วและอาจจะค้นพบได้อีก ถ้าเว็บไซต์ลิงก์ต่อไปยังอีกเว็บไซต์ใหม่ๆ ก็จะรวบรวมข้อมูลเว็บไซต์อีกรอบ โดยโปรแกรมที่ทำการรวบรวม มีชื่อว่า Google Bot (หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรบ็อต บ็อต หรือสไปเดอร์) จะรวบรวมข้อมูล ความถี่ และจำนวนหน้าเว็บ จากเว็บไซต์แต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม Google Bot ก็อาจจะไม่ได้รวบรวมทุกหน้า เพราะ เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ไม่อนุญาตให้รวบรวม หรือ มีข้อมูลซ้ำกับหน้าที่รวบรวมก่อนหน้า
การจัดทำดัชนี
หลังจากรวบรวมข้อมูลหน้าเว็บแล้ว Google จะพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาในหน้า ขั้นตอนนี้เรียกว่า “การจัดทําดัชนี” ซึ่งรวมถึงการประมวลผลและวิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นข้อความ รวมถึงแท็กและแอตทริบิวต์ของเนื้อหาหลัก เช่น องค์ประกอบ <title> และแอตทริบิวต์ Alt, รูปภาพ, วิดีโอ และอื่นๆ จะพิจารณาว่าเนื้อหาในแต่ละหน้ามีการซ้ำกันหรือไม่ ถ้าซ้ำกันก็จะสร้างเป็นคลัสเตอร์ และเลือกเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด ส่วนหน้าอื่นก็จะเป็นตัวเลือกในการแสดงผลในบริบทที่ต่างกัน และไม่รับประกันการจัดทําดัชนีหน้าเว็บทุกหน้าที่ประมวลผล โดยปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือ เนื้อหาภายในเว็บไซต์และข้อมูลเมตาของเว็บไซต์
การแสดงผลการค้นหา
เมื่อผู้ใช้ป้อนคำค้นหา จะค้นหาหน้าเว็บที่ตรงจากคำนั้นๆ จากดัชนี และแสดงผลลัพธ์เว็บไซต์ที่มีคุณภาพดีที่สุดและเกี่ยวข้องกับผู้ใช้มากที่สุด โดยจะพิจารณาจากหลายปัจจัย ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูล เช่น ตําแหน่ง ภาษา และอุปกรณ์ (เดสก์ท็อปหรือโทรศัพท์) ของผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ค้นหาคำว่า “ร้านซ่อมจักรยาน” จะแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับผู้ใช้ในปารีสและผู้ใช้ในฮ่องกง
และนี่ก็เป็นขั้นตอนว่ากระบวนของ Google Search เป็นอย่างไร และมีอะไรบ้าง เพื่อให้นำไปปรับใช้ในการทำเนื้อหาเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มอันดับของเว็บไซต์เราได้ด้วย